สาเหตุและการป้องกันการแตกเองของหัวกระจายดับเพลิง
สาเหตุใดบ้างที่หัวกระจายน้ำดับเพลิงจะแตกเอง
สาเหตุของการแตกมีสาเหตุหลายประการ ยกตัวอย่างเช่น
- ผลจากความดันที่เพิ่มสูงขึ้นในระบบจากการสตาร์ทเครื่องสูบน้ำดับเพลิง จนเกิดคลื่นกระแทกไปที่หัวกระจายน้ำดับเพลิง
- เกิดความร้อนสะสมภายในอาคาร ทำให้น้ำในท่อขยายตัว ส่งผลให้แรงดันเกิน 175 psi ขึ้นไป ทำให้หัวกระจายน้ำดับเพลิงทนไม่ไหว
- การติดตั้งที่ผิดพลาด
- การออกแบบและเลือกอุณหภูมิทำงานที่ไม่เหมาะสมกับพื้นที่
- หัวกระจายน้ำดับเพลิงไม่มีมาตรฐานรับรอง รวมถึงตัวกระเปราะแก้วไม่ได้มาตรฐานและผลิตภายใต้โรงงานที่ไม่ได้มีมาตรฐานรับรอง
- เกิดจากการติดตั้งที่ผิดวิธี เช่น ไม่ได้ใช้ประแจขันหัวสปริงค์เกอร์ร่วมกับประแจปอนด์ ขันหัวกระจายน้ำดับเพลิงเสียรูปทรง ส่งให้กระเปราะแก้วแตก
- มีอุปกรณ์อื่นๆ เฉี่ยว เกี่ยว ชน กระแทก กระเปราะแก้ว
- อุณหภูมิโดยรอบสูงกว่ากระเปราะแก้วหรือกระเราะแก้วโดนแสงอาทิตย์โดยตรง ทำให้กระเปราะแก้วแตก
การป้องกันการแตกเองของหัวกระจายน้ำดับเพลิง
การติดตั้งหัวกระจายน้ำดับเพลิงนั้นจะต้องใช้ประเเจที่ถูกออกแบบมาสำหรับหัวกระจายน้ำดับเพลิงขนิดนั้นๆและจะต้องขันด้วยแรงที่ผู้ผลิตกำหนดมาให้เท่านั้นเท่านั้น ซึ่งหากเปิดแคตตาล็อกของผู้ผลิตจะพบว่าหัวกระจายน้ำดับเพลิงแต่ละชนิดจะมีตัวอย่างการติดตั้งและรุ่นของประแจที่ต้องเลือกใช้ให้เหมาะสม รวมทั้งมุมหรือแรงที่ใช้ในการขัน(บางยี่ห้อ) ซึ่งก็จะกำหนดแรงที่ใช้ในการขันไม่เท่ากัน ค่า K มาก ก็ต้องออกแรงขันมากกว่า
การใช้ประแจเลื่อนหรือประแจปากตายที่ไม่เหมาะสม อาจทำให้เกิดแรงกระทำบนตัวเรือนของหัวกระจายน้ำดับเพลิง จนทำให้เกิดแรงเค้น หรือแรงเฉือนหรือทั้งสองลงบนตัวเรือนของหัวกระจายน้ำดับเพลิง ทำให้เกิดรอยแตกเล็กที่เมื่อเวลาผ่านไปรอยแตกนี้จะค่อยๆใหญ่ขึ้นจนวันหนึ่งก็ส่งผลให้สปริงเกลอร์แตกเอง และการที่หัวกระจายน้ำดับเพลิงที่ใช้กันทั่วไปมักทำจากทองเหลือง (Brass) ซึ่งเป็นวัสดุที่แข็งแต่เปราะ ดังนั้นการติดตั้งหัวกระจายน้ำดับเพลิงจำเป็นต้องใช้ความระมัดระวังเป็นอย่างมาก