ระบบดับเพลิงด้วยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์
Carbon Dioxide (CO2) เป็นก๊าซที่มีอยู่ทั่วไปในอากาศเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เกิดจากหลายวิธี เช่น การเผาไหม้ จากกระบวนการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม ฯลฯ คาร์บอนไดออกไซด์ถูกนำมาใช้ในวงการดับเพลิงมานานหลายปี ซึ่งมีคุณสมบัติเหมาะสมในการดับเพลิงที่เกิดจากการลุกไหม้ชนิด Flammable Liquid Fires, Gas Fires, Electrically Fires แต่ยกเว้นการใช้งานกับวัสดุชนิด Active Metals หรือ Metal Hydride และวัสดุที่ประกอบไปด้วย Cellulose Nitrate หรือที่มีองค์ประกอบของ Oxygen (O2) เป็นหลัก
Carbon Dioxide มีคุณสมบัติไม่มีกลิ่นไม่มีสี ขณะอยู่ในสถานะก๊าซ ไม่นำไฟฟ้าเมื่อนำมาใช้ในการดับเพลิงจะถูกเก็บอยู่ในถังบรรจุชนิดทนแรงดัน ซึ่งมีอยู่ 2 วิธี คือ
1. เก็บในภาชนะบรรจุชนิดทนแรงดันสูง ไม่ควบคุมอุณหภูมิ (High Pressure CO2 Cylinder) จะใช้งานที่อุณหภูมิห้อง ปกติอยู่ในสถานะก๊าซ
2. เก็บอยู่ในถังชนิดทนแรงดันพร้อมควบคุมอุณหภูมิ (Low Pressure CO2 Tank) โดยควบคุมอุณหภูมิให้คงที่เท่ากับ -18F (0C) ตลอดเวลา ซึ่งจะถูกเก็บในสถานะของเหลว
เมื่อฉีด Carbon Dioxide ออกมาจากถังบรรจุ Carbon Dioxide จะถูกฉีดออกไปตามแนวท่อ ไปยังหัวฉีด (Nozzle) ตามจุดต่างๆ คาร์บอนไดออกไซด์ที่เป็นของเหลวจำนวน 1 ปอนด์นั้นเมื่อเปลี่ยนสถานะเป็นก๊าซในบรรยากาศปกติสามารถขยายตัวได้ประมาณ 8 ft^3 โดยส่วนใหญ่แล้วจะถูกเปลี่ยนสถานะจากของเหลวเป็นก๊าซ แต่จะมีบางส่วนที่เป็น “Dry Ice” หรือ “Snow” ซึ่งเป็นคุณสมบัติอย่างหนึ่งของคาร์บอนไดออกไซด์เมื่อทำการฉีดอันดับแรกจะกลายเป็นหมอกและควัน และจำนวนของ “Snow” จะเพิ่มมากขึ้นตามปริมาณการฉีด ซึ่งสามารถดูได้ตามเส้นทางการฉีด และระเหยกลายเป็นก๊าซได้อย่างรวดเร็วสามารถทิ้งเอาไว้อย่างนั้นโดยไม่ต้องทำความสะอาดใดๆ ซึ่งมันจะทำหน้าที่ดูดความร้อนและลดอุณหภูมิภายในพื้นที่ลงให้ต่ำกว่าจุดติดไฟ
ระบบก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon Dioxide System) เหมาะสำหรับการดับเพลิงในพื้นที่ป้องกันที่มีการติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือทรัพย์สินที่มีมูลค่าสูงและมีความสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจ แต่เนื่องจากจะต้องใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่มีความเข้มข้นสูงมากจึงจะสามารถดับเพลิงได้ ฉะนั้นอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นคือ ผู้ที่อยู่ภายในห้องปิดนั้นจะหายใจไม่ออกและตาพร่ามัวจนทำให้หมดสติได้ ดังนั้น การใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ดับเพลิงในพื้นที่ปิด หรือที่เรียกว่า Total Flooding System จึงจำเป็นต้องมีสัญญาณเตือนล่วงหน้าประมาณหนึ่งนาทีก่อนที่ระบบฉีดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จะทำงานเพื่อให้ผู้ใช้งานภายในห้องนั้นมีเวลาหลบออกมาได้